บทที่ 2
บทที่ 2

ตอนที่ ๒   
การพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาตามแผนปฏิบัติการประจำปีของสถานศึกษา

 ๑.แนวคิดเกี่ยวกับการประกันคุณภาพภายใน
   ๑.๑ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒ ) พ.ศ.๒๕๔๕ หมวด ๖ มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา
          มาตรา ๔๗ ให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ ประกอบด้วย ระบบการประกันคุณภาพภายในและระบบการประกันคุณภาพภายนอก   ระบบ หลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษาให้เป็นไปตามกฎกระทรวง
          มาตรา ๔๘ ให้หน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษาจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาและให้ถือว่าการประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยมีการจัดทำรายงานประจำปีเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเปิดเผยต่อสาธารณชน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา และเพื่อรองรับการประกันคุณภาพภายนอก
     ๑.๒ กฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.๒๕๕๓
          หมวด ๑ บททั่วไป
        ข้อ ๕ ให้สถานศึกษาดำเนินการประกันคุณภาพภายในอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ทั้งนี้ด้วยการสนับสนุนจากหน่วยงานต้นสังกัดและการมีส่วนร่วมของชุมชน
        ข้อ ๖ ให้สถานศึกษาจัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพภายในเสนอต่อคณะกรรมการสถานศึกษา หน่วยงานต้นสังกัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาและเปิดเผยรายงานนั้นต่อสาธารณชน
ข้อ ๗ สถานศึกษาต้องนำผลการประเมินคุณภาพภายในและภายนอกไปประกอบการจัดทำแผนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา

        หมวด ๒ การประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา  ส่วนที่ ๑ การศึกษาขั้นพื้นฐาน
        ข้อ ๑๔ ให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายในตามหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการประกันคุณภาพภายในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑)    กำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
(๒)    จัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
(๓)     จัดระบบบริหารและสารสนเทศ
(๔)    ดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
(๕)    จัดให้มีการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา
(๖)    จัดให้มีการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
(๗)    จัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพภายใน
(๘)    จัดให้มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่องการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้สถานศึกษายึดหลักการมีส่วนร่วมของชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน โดยการส่งเสริม สนับสนุน และกำกับดูแลของหน่วยงานต้นสังกัดสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่ไม่สามารถปฏิบัติงานบางประการตามที่กำหนดในวรรคหนึ่งในได้ให้หน่วยงานต้นสังกัดหรือสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา แล้วแต่กรณี ประกาศผ่อนผันการปฏิบัติและวางแนวทางในการประกันคุณภาพภายในให้เหมาะสมกับสภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษานั้น แล้วรายงานให้รัฐมนตรีทราบ
ข้อ ๑๕ การกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาตามข้อ ๑๔ (๑) ต้องสอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาของชาติ เอกลักษณ์ของสถานศึกษา และมาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานตามที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด และต้องครอบคลุมสาระการเรียนรู้และกระบวนการเรียนรู้ รวมทั้งคำนึงถึงศักยภาพของผู้เรียน ชุมชน และท้องถิ่นด้วย
ข้อ ๑๖ การจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาตามข้อ ๑๔  (๒) ให้ดำเนินการ ดังนี้
(๑)    ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการที่จำเป็นของสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ
(๒)    กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย และความสำเร็จของการพัฒนาไว้อย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรม
(๓)    กำหนดวิธีการดำเนินงานที่มีหลักวิชา ผลการวิจัย หรือข้อมูลเชิงประจักษ์ที่อ้างอิงได้ให้ครอบคลุมการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้การส่งเสริมการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล การพัฒนาบุคลากร และการบริหารจัดการ เพื่อนำไปสู่มาตรฐานการศึกษาที่กำหนดไว้
(๔)    กำหนดแหล่งวิทยาการภายนอกที่ให้การสนับสนุนทางวิชาการ
(๕)    กำหนดบทบาทหน้าที่ให้บุคลากรของสถานศึกษาและผู้เรียนรับผิดชอบและดำเนินงานตามที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ
(๖)    กำหนดบทบาทหน้าที่และแนวทางการมีส่วนร่วมของบิดา มารดา ผู้ปกครองและองค์กรชุมชน
(๗)    กำหนดการใช้งบประมาณและทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
(๘)    จัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี

จากการศึกษาแนวคิดการประกันคุณภาพภายในจากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒ ) พ.ศ.๒๕๔๕  หมวด ๖ มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา  และ กฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.๒๕๕๓ หมวด ๑ บททั่วไป ข้อ ๕-๗   หมวด ๒ การประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ส่วนที่ ๑ การศึกษาขั้นพื้นฐาน ข้อ ๑๔-๑๖ โรงเรียนได้ดำเนินการตามแนวคิดดังกล่าว และมีการจัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา โดยใช้รูปแบบการรายงานประจำปีของสถานศึกษา ปีการศึกษา ๒๕๕๖ ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๒๘

 ๒. หลักการ/รูปแบบ/เทคนิคการบริหารจัดการศึกษาของสถานศึกษา
การบริหารจัดการในสถานศึกษาทั้ง ๔ ด้าน ใช้กรอบการบริหารของสถานศึกษาที่เป็นนิติบุคคล  โดยนําหลักการว่าด้วยการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี   ซึ่งเรียกกันโดยทั่วไปว่า    ธรรมาภิบาล”        ไดแก หลักนิติธรรม  หลักคุณธรรม   หลักความโปร่งใส   หลักการมีสวนรวม  หลักความรับผิดชอบ  และหลักความคุ้มค่ามาบูรณาการในการบริหารและจัดการศึกษา เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งใหกับโรงเรียนในฐานะที่เปนนิติบุคคลดวย โดยนำหลักธรรมาภิบาลดังกล่าวมาบูรณาการเขากับการดําเนินงานดานตาง ๆ  ของสถานศึกษาซึ่งไดแก  การดําเนินงานดานวิชาการ งบประมาณ  บริหารงานบุคคล   บริหารทั่วไป  และเปาหมายในการจัดการศึกษาคือทําใหผูเรียนเปนคนดี  เกง  และมีความสุข